วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น


คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น

         ไทยได้รับอิทธิพลการใช้ภาษามาจากต่างชาติ  ฉะนั้นการยืมคำจึงเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดก็มีการรับวัฒนธรรมจากภาษาอื่นเข้ามาปะปน  เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา
ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน

ประเภทของการยืม
           1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก
กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า
           2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขต
ใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน
           3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน


อิทธิพลของการยืม
           การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้
จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมาย
เดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรอง
เพราะมีหลากคำ
คำยืมจากภาษาเขมร
           เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์มานานทั้งททางการค้า การสงคราม การเมืองและวัฒนธรรม
เขมรมีอิทธิพลเหนือดินแดนสุวรรณภูมิก่อนกรุงสุโขทัยหลายร้อยปี จากการมีอาณาเขตติดต่อกัน
ทำให้เขมรภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ภาษาถิ่นเขมรก็คล้ายคลึงกับภาษาพูด
ของชาวอีสานใต้ของไทย ตลอดจนชาวภาคตะวันออกตามชายแดนไทย - กัมพูชาด้วย


                                               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น