วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ประมวลคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น


คำที่มาจากภาษาอื่น

         ในภาษาไทยมีการขอยืมคำจากภาษาอื่นๆ มากมาย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสัมนสกฤต ภาษาเขมร เป็นต้น
คำที่มาจากภาษาอื่นเหล่านี้ จะมีหลักในการสังเกตแตกต่างกัน ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าคำเหล่านี้มาจากภาษาใด

๑. คำที่มาจากภาษาบาลี
ตัวอย่างคำ พุทธ ปัญญา มัจฉา บุปผา อัคคี จุฬา หทัย ทุกข์ บาป ราโชวาท มุทิตา ดาบส ชาตะ คฤหัสถ์
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๒.  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ตัวอย่างคำ เกษตร สตรี กรีฑา ครุฑ ปรัชญา ธรรม ภรรยา ราตรี ฤดี ฤทัย ราเชนทร์ กัลบก ไพศาล บาป
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๓.  มาจากภาษาเขมร
ตัวอย่างคำ   ฉกาจ เข็ญ จำเนียร กังวล เพ็ญ เสด็จ เจริญ ขจร ทูล
ข้อสังเกต       สะกดด้วย จ ญ ร ล
ตัวอย่างคำ   ขลัง โขน ฉลอง เสวย เขนย เฉลย
ข้อสังเกต       มักใช้คำควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำ
ตัวอย่างคำ   กำจร ตำรวจ กำเนิด ดำริ บังคม จำเริญ ชำนรร
ข้อสังเกต       คำ ๒ พยางค์ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ บัง

๔.  มาจากภาษาชวา
ตัวอย่างคำ กริช (มีดปลายแหลมมี ๒ คน), กิดาหยัน (มหาดเล็ก), บุหงา (ดอกไม้), ปั้นเหน่ง (เข็มขัด), มะงุมมะงาหรา (เที่ยวป่า)
ข้อสังเกต มักจะเป็นคำที่มีเสียงจัตวา

๕. คำที่มาจากภาษาจีน
ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมาเเต่โบราณกาล ในสมัยสุโขทัยได้มีการทำสัญญาทางไมตรีกันระหว่างไทยกับจีน ภาษาไทย และภาษาจีนจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด ทั้งสองภาษามีเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เหมือนเสียงดนตรี จึงได้ชื่อว่าเป็นภาษาดนตรี

คำที่มาจากภาษาจีน มีลักษณะ ดังนี้
      -  มักเป็นคำพยางค์เดียว
      -  มีรูปวรรณยุกต์เเละเสียงวรรณยุกต์ เพื่อให้เกิดความหมาย

ตัวอย่าง คำที่มาจากภาษาจีน
คำนาม
      ก๊ก (หมู่เหล่า)      ก๋ง (ปู่)       ขิม (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง)       เซียน (ผู้วิเศษ)
      ตังเก (เรือ)       โสหุ้ย (ค่าใช้จ่าย)       ซ้อ (สะใภ้)       อั้งโล่ (เตา)       ฮ่องเต้ (กษัตริย์)
คำกริยา
      เก๊ก (วางท่า)      เขียม (ประหยัด)      เจ๊า (เลิกกันไป)      แฉ (เปิดเผยให้รู้)      ทู่ซี้ (ทนทำต่อไป)    
      เซ็งลี้ (ขายต่อ)      แฉ (เปิดเผยให้รู้)      เซ๊ง (ขาย)      ตื้อ (พยายาม)      ตุน (เก็บไว้)      ตุ๋น (ทำอาหารให้เปื่อย)

ตัวอย่าง ประโยคที่ใช้คำที่มาจากภาษาจีน
      กง ชอบฟังหลานตี ขิม เวลานั่งดื่มน้ำ เก๊กฮวย
      เธอเป็นคน เขียม จึงไม่ชอบจัดงานเลี้ยงที่ต้องจ่ายค่า โสหุ้ย มาก
      ทินกรถูกเพื่อน ตื้อ ให้ไปเที่ยวทะเลด้วยกัน
      คนที่ เก๊ก มาก ๆ มักจะไม่มีเพื่อน
     อาเเป๊ะ เซ้ง ตึก ๓ ชั้น แถวรัชดา เดือนที่เเล้ว
     เราต้องเตรียม ตุน เสบียงไว้เผื่อหิวเวลาเดินาทง
     เเม่ทำ ก๋วยเตี๋ยว หมู ตุ๋น รสเด็ด 

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น


คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น

         ไทยได้รับอิทธิพลการใช้ภาษามาจากต่างชาติ  ฉะนั้นการยืมคำจึงเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดก็มีการรับวัฒนธรรมจากภาษาอื่นเข้ามาปะปน  เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา
ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน

ประเภทของการยืม
           1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก
กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า
           2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขต
ใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน
           3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน


อิทธิพลของการยืม
           การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้
จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมาย
เดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรอง
เพราะมีหลากคำ
คำยืมจากภาษาเขมร
           เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์มานานทั้งททางการค้า การสงคราม การเมืองและวัฒนธรรม
เขมรมีอิทธิพลเหนือดินแดนสุวรรณภูมิก่อนกรุงสุโขทัยหลายร้อยปี จากการมีอาณาเขตติดต่อกัน
ทำให้เขมรภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ภาษาถิ่นเขมรก็คล้ายคลึงกับภาษาพูด
ของชาวอีสานใต้ของไทย ตลอดจนชาวภาคตะวันออกตามชายแดนไทย - กัมพูชาด้วย


                                               



คำไทยแท้


          คำไทยแท้

                 หมายถึง   คำที่มีความหมายในตัวเอง  ส่วนมากจะมีหนึ่งพยางค์  เป็นคำสั้นๆ  กะทัดรัดแต่มีความหมายที่โดดเด่นแตกต่างกับคำภาษาอื่นๆ

           ลักษณะของคำไทยแท้

        ๑.   คำไทยแท้ส่วนมากพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท อุทาน สันธาน ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุเกิดจาก
             ก.การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
                    มะม่วง มากจาก หมากม่วง ตะคร้อ มาจาก ต้นคร้อ
                   สะดือ มาจาก สายดือ มะตูม มาจาก หมากตูม
                   ตะเข็บ มาจาก ตัวเข็บ สะเอว มาจาก สายเอว

             ข.การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
                   ลูกกระดุม มาจาก ลูกดุม ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
                   นกกระจอก มาจาก นกจอก ลูกกระเดือก มาจาก ลูกเดือก
                   ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด นกกระจิบ มาจาก นกจิบ

             ค.การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
                   จุ๋มจิ๋ม ? กระจุ๋มกระจิ๋ม เดี๋ยว ? ประเดี๋ยว
                   ท้วง ? ประท้วง ทำ ? กระทำ
                    โจน ? กระโจน

     ๒.คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมควบกล้ำ และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ๙ล๙

     ๓.คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว

     ๔.การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น

                   ใจน้อย ? น้อยใจ กลัวไม่จริง ? จริงไม่กลัว

     ๕.คำไทยจะใช้รูป ? ไอ? กับ ? ใอ? จะไม่ใช้รูป ? อัย? เลยและจะไม่ค่อยพบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศอก ศึก ธ ณฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น



"ตั้งใจอ่านภาษาไทยคร้าบบบบบบบบบบบ"

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

กลอนดอกสร้อย


กลอนดอกสร้อย 

              เป็นกลอนที่เเต่งขึ้นเพื่อขับร้อง กลอนดอกสร้อย 1 บท มี 4 บาท จะมี 2 วรรค ใน 1 วรรค จะมี 7-9 พยางค์ ยกเว้นวรรคที่  จะมี 4 พยางค์ และพยางค์ที่ 2 จะมีคำว่า เอ๋ย ส่วนวรรคสุดท้ายของบทจะลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ

การสัมผัสบังคับ

             1. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 1 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 ของวรรคที่ 2 (บางตรั้งผ่อนผันให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 1,2,4, หรือ 5 ของวรรคที่ 2 ก็ได้)
             2. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3
             3. พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 3 บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 3 ของวรรคที่ 4 (บางครั้งผ่อนผันให้สัมผัสกับพยางค์ที่ 1,2,4 หรือ 5 ของวรรคที่ 4 ก็ได้)
             4. พยางค์สุดท้ายของวรรคสุดท้ายในบทที่ 1 บังคับสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทถัดไป

               ตัวอย่าง การสัมผัสบังคับ และการแบ่งวรรคในการอ่าน กลอนดอกสร้อย

                                                            แมวเอ๋ยแมวขโมย                                  ดูซูบซีดอิดโรยเสียหนักหนา
                                           เด็กชายเก่งคนดีมีเมตตา                                       ให้ข้าวปลาอิ่มหนำแสนสำราญ
                                          จากแมวโทรมถอดรูปแล้วเป็นเเมวสวย                 แถมยังช่วยจับหนูอยู่ในบ้าน
                                          กตัญญูรู้คุณรู้ทำงาน                                              ชีวิตก็เบิกบานสำราญเอย
                                                                                           
                                                


          

บทความ "สุขใจในวันฝนพรำ"


บทความ สุขใจในวันฝนพรำ




                แปลกแต่จริงที่เมื่อถึงฤดูฝน หลายคนที่สุขภาพจิตดีเป็นปกติ  กลับกลายเป็นคนขี้เหงา  มีอารมณ์ซึมๆ  เศร้าๆ  ยามที่ท้องฟ้าขมุกขมัวและฝนโปรยปราย  หารู้ไหมว่าภายหลังท้องฟ้าที่ขมุกขมัวมีฝนมืดคลึ้มนั้น  ยังมีฟ้าสีครามสดใสให้เราได้สูดอากาศอย่างเต็มปอด  อย่างที่เราเรียกว่า “ ฟ้าหลังฝนไง”
ธรรมชาติมอบความเย็นฉ่ำผ่านมากับเม็ดฝนให้โลกได้สดชื่น  ต้นไม้ใบหญ้าได้เจริญงอกงาม  นกกาได้เริงร่าบินว่อนไปว่อนมาบนท้องฟ้าสีครามแสนสวย  ปลาใหญ่ปลาน้อยใต้หนองน้ำกระดิ๊กกระดี้เริงร่าแหวกว่ายไปมาอย่างร่าเริงใจ  แล้วคนเราจะกลัวอะไรกับสายฝน  หยดน้ำหยดน้อยๆที่โปรยปรายลงมาจากท้องฟ้า  ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกในอากาศให้กับเรา  บอกลาความเหงา  ความเศร้า  อย่ามัวรีรออีกเลย  ออกไปสูดอากาศสดชื่นให้เต็มปอด  ปล่อยใจให้เบาสบาย  ให้หยดน้ำฝนชะล้างความเศร้าออกให้หมด  ฟังเสียงฝนคลอเคล้ากับจิ้งหรีดเรไร  มองดูชีวิตผู้คน  แล้วจะพบกับความรื่นรมย์ในสรรพสิ่งรอบตัว  แทนการบิลท์ตัวเองให้หงอยเหงาโดยใช่เหตุ
ในขณะที่หลายคนก็บ่นว่า  ใช้ชีวิตลำบากจัง  วันทั้งวันได้ยินแต่เสียงฝนตก  จะออกไปไหนมาไหนก็กลัวเปียกฝน  กลัวเป็นไข้หวัด  และไม่อยากผจญกับความเฉอะแฉะ  เลยต้องทนจับเจ่าอยู่กับบ้าน  ในห้องสี่เหลี่ยมที่อยู่มาจนเบื่อหน่าย  จะออกไปเที่ยวที่ไหนก็ไม่ได้ดั่งใจหวัง  คิดแล้วก็เลยต้องนั่งเครียด  คุณเป็นหนึ่งคนในนี้ใช่หรือป่าวคะ
อยากจะบอกว่าการดำรงชีวิตในแต่ละวันนั้น  ไม่สามารถรอฟ้ารอฝนให้เป็นใจได้หรอกคะ  เราดำเนินชีวิตอยู่ใต้ฟ้ามีชายคาคอยป้องแดด  ป้องกันฝน  หากเรายังยึดติดอยู่ว่าฝนที่ตกลงมาจากฝากฟ้าเป็นอุปอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิตของเรา   เราจะต้องสูญเสียเวลาอันมีค่าในทุกขณะการดำเนินชีวิตของเราไปอย่างน่าเสียดาย  อย่ากระทำอย่างนั้นเลย  ฤดูฝนหมุนเวียนมาแค่ปี่ละหนึ่งหน  หมุนเวียนมาให้ทุกคนได้เย็นฉ่ำสุขกายสบายใจ  มาเปิดโอกาสให้ตนเองมีความสุขไปกับฤดูฝนกันเถอะ  ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ  อย่าลืมว่าเรามีอุปกรณ์กันฝนอยู่  พกพาร่มหรือเสื้อกันฝนไปด้วยเพื่อความสบายใจ  แต่ถ้าไม่อยากออกจากบ้านก็จัดงานสนุกๆขึ้นสำหรับคนในครอบครัวและเพ่อนฝูงที่คุ้นเคย  กินข้าว  เปิดเพลงคลอเบาๆ  พูดคุยกันสนุกสนานรื่นเริงตามสไตส์ที่คุณชื่นชอบ  เพียงเท่านี้ก็สามารถบอกลาความเหงาได้อย่างง่ายดาย
ความสุขนั้นเราสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง  แค่เราลุกชึ้นมาทำสิ่งดีๆให้กับตัวเราเอง  ลืมความเศร้า  ความเหงาไปให้หมด........ขอให้สุขกายสบายใจในวันที่ฝนพรำกันนะคะ




                      


เขียนบทความไม่อยากอย่างที่คิด



เทคนิคการเขียนบทความ                                     

      สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ มีใครเริ่มคิดเรื่องที่จะเขียนบทความกันบ้างหรือยังคะ  หรือว่ายังกล้า ๆ กลัว ๆ กันอยู่   ใจเย็น ๆ ค่ะ  การเขียนบทความไม่ได้ยากอย่างที่คิดกัน  เป็นเรื่องง่ายที่ใครก็สามารถเขียนได้ค่ะ  เพียงแต่เราต้องมีความตั้งใจและความพยายามเท่านั้นเอง  ทุกอย่างก็สามารถสำเร็จได้ค่ะ  ถือว่าพิมพ์อักษรให้กำลังใจทุกคนค่ะ  แล้วก็ยังเป็นการให้กำลังตัวเองอีกด้วยเหมือนกันค่ะ  หลังจากที่เรารู้ประเภทของบทความกันไปแล้ว  ครั้งนี้เรามารู้ขั้นตอนในการเขียนบทความกันนะคะ  เพื่อเราจะได้เริ่มฝึกฝีมือการเขียนกันเลย

         ขั้นตอนในการเขียนบทความก็ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไรเลยค่ะ    เพราะได้มีนักวิชาการท่านหนึ่งชื่อวิทยา  ดำรงเกียรติศักดิ์  ได้กำหนดขั้นตอนเอาไว้ดังนี้ค่ะ

1. การเลือกเรื่อง  เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน  เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง  หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้

2. การวางแผนก่อนการเขียน  เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร  โดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วยค่ะ

           2.1 กลุ่มผู้อ่าน  ผู้เขียนต้องคำนึงถึงอายุ  เพศ  รายได้  การศึกษา  อาชีพ  ความรู้  ในเรื่องความรู้ต้องคิดด้วยว่าผู้อ่านรู้อะไรบ้าง  รู้เรื่องนั้น ๆ ดีพอเพียงใดที่ผู้อ่านต้องการรู้และผู้อ่านจะได้รับข่าวสารที่ผู้เขียนเขียนได้อย่างไร  เพราะความสำเร็จของการเขียนขึ้นอยู่กับผู้อ่านยอมรับข้อเขียนของผู้เขียนด้วยค่ะ

          2.2 กำหนดวัตถุประสงค์  ในข้อนี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนบทความนี้ไปทำไม  เช่น  เพื่อให้ข่าวสาร  สร้างความคิดที่ดี  หรือเพื่อโน้มน้าวใจ  โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจต้องให้ผู้อ่านเกิดความต้องการหรือตระหนักในปัญหาก่อน  จากนั้นค่อยเสนอทางออก  พร้อมกับยกตัวอย่างและหลักฐานที่ผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพพจน์แล้วสรุปอีกครั้งในจุดที่ผู้เขียนต้องการ เป็นต้น


         2.3 การรวบรวมเนื้อ  การเขียนบทความไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม  สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงหลักฐาน  ข้อเท็จจริง  ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนจำเป็นจะต้องสืบเสาะหาเรื่องราวให้มีความรู้เพียงพอ  โดยวิธีการรวบรวมเนื้อหาสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

                2.3.1 การค้นคว้าข้อมูลด้านวิทยาการจากหนังสือ  และเอกสารต่าง ๆ เช่น จากห้องสมุด  หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  จากหนังสือพิมพ์  นิตยสาร  หรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

                2.3.2 การสัมภาษณ์บุคคลที่ต้องการจะเขียนถึง  หรือจากบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการจะเขียน

                2.3.3 การสนทนาหรือพูดคุยกับบุคคลทั่วไป  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

                2.3.4 การเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วจดบันทึกสิ่งที่ได้พบได้เห็น  ซึ่งจะเป็นการสร้างสีสันให้งานเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

                2.3.5 การสืบเสาะเรื่องราวต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นกับใคร  ที่ไหน  อย่างไร  แล้วจึงติดตามไปยังแหล่งที่เกิดเหตุ  ติดตามดูสถานที่  การกระทำ  เหตุการณ์


3. การจัดเนื้อหา  ได้แก่การวางโครงเรื่องของบทความ  ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา  ความคิด ของเรื่องราวนั้น ๆ เป็นต้นว่า  จะลำดับความอย่างไร  ส่วนไหนต้องใช้เป็นคำนำ  เนื้อหา  และสรุป

4. การเรียบเรียงเนื้อหา คือ การนำโครงเรื่องที่วางไว้มาขยายความให้ครบถ้วนได้  ความหมายที่ชัดเจน  น่าอ่าน  โดยต้องสอดคล้องกับรูปแบบและขนาดของบทความ

5. การตรวจแก้ไข  เมื่อเขียนบทความเรียบร้อยแล้ว  ควรมีการตรวจทานเสียก่อน  เพื่อกันความผิดพลาดก่อนบทความตีพิมพ์สู่ผู้อ่าน

6. ส่งบทความไปเผยแพร่  ควรส่งบทความให้ตรงตามเวลา  เพื่อบรรณาธิการหรือผู้พิมพ์  คนจัดรูปเล่ม  จะได้ทำหน้าที่ของเขาได้ดีที่สุด

หลังจากที่เพื่อน ๆ รู้จักขั้นตอนของการเขียนบทความไปแล้ว  ก็สามารถเริ่มต้นเขียนกันได้เลยค่ะ  เอาไว้ครั้งหน้าพิมพ์อักษรจะนำเสนอเรื่องราวน่าติดตามมาให้เพื่อน ๆอ่านกันอีกนะคะ  สวัสดีค่ะ





               

รสแห่งกาพย์กลอนไทย


รสแห่งกาพย์กลอนไทย

รสแห่งกาพย์กลอนไทย


๑. เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม)
         คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น บทชมโฉมนางมัทมา โดยท้าวชัยเสนรำพันไว้ ในวรรคดีเรื่องมัทนะพาธา
    

 เสียงเจ้าสิเพรากว่า          ดุริยางคะดีดใน
ฟากฟ้าสุราลัย                    สุรศัพทะเริงรมย์
ยามเดินบนเขินขัด            กละนัจจะน่าชม
กรายกรก็เร้ารม              ยะประหนึ่งระบำสรวย
ยามนั่งก็นั่งเรียบ            และระเบียบเขินขวย
แขนอ่อนฤเปรียบด้วย     ธนุก่งกระชับไว้
พิศโฉมและฟังเสียง      ละก็เพียงจะขาดใจ ...
                               (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) 

๒. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม)   
         คือการกล่าวข้อความแสดงความรัก ทั้งที่เป็นการพบกันในระยะแรกๆ และในโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย   


                                                     พี่ชมพี่เชยแล้ว           พลางถาม
                                               เจ้ามิอื้ออำความ               ไป่พร้อง
                                              เจ้าเอื้อนมิเออขาม            เขินพี่   อยู่ฤา
                                              ผินพักตรมาอย่าข้อง          ขัดแค้นเคืองเลย
                                                                           (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์)


  ๓. พิโรธวาทัง(บทตัดพ้อ)
        
         คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมาก จึงเริ่มตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง


บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี เสียเจ้า

จะเจ็บจำไปถึงปรโลก                  ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย                 อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
                                            (อังคาร กัลยาณพงศ์)

๔. สัลลาปังคพิไสย(บทโศก)
         
          คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก บทโศกของนางวันทอง ซึ่งคร่ำครวญอาลัยรักต้นไม่ในบางขุนช้าง อันแสดงให้เห็นว่านางไม่ต้องการตามขุนแผนไป แต่ที่ต้องไปเพราะขุนแผนร่ายมนต์สะกด ก่อนลานางได้ร่ำลาต้นไม้ก่อนจากไป จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี
                                             
                                         ลำดวนเอยจะด่วนไปก่อนแล้ว   ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี
                                    จะโรยร้างห่างกลิ่นมาลี                จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ
                                                                             (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)




        





วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

คำไวพจน์ในภาษาไทย


   คำไวพจน์
         
          คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือคำที่พ้องความหมายนั่นเอง


ตัวอย่างเช่นคำว่า  "ผู้หญิง"  ประกอบด้วยคำไวพจน์  ต่อไปนี้

 กนิษฐ์        กนิษฐา       กระลาพิน       กระลาศรี        กัญญา        กันยา       กัลยาณี         กานดา         
 เกน           กลอยใจ      แก้วตา           ขนิษฐา           ดรุณี           ดวงสมร   ถี                  นง            
 นงราม       นงนุช         นงนาฏ            นงเยาว์          นงลักษณ์    นงโพธ     นงพาล           นงพะงา    
 นารี           นฤมล         นาเรศ            นิรมล             นุช             เนียง        แน่ง               แน่งน้อย    
โผอน         พธู             พนิดา             พะงา              พังงา          ภคินี        ภาคินี             มาณวิกา   
 ยอดสร้อย   ยาหยี          ยุพยง              ยุพเรศ           ยุพดี           ยุพา         ยุพาน             ยุพิน         
 ยุพาพิน      ยุวดี           เยาวมาลย์       เยาวเรศ         เยาว์ลักษณ์  เยาวพา   รมณี               ร้อยชั่ง     
 วนิดา         วรดนู         วรางคณา        วิมล                ศรี              สดี           สตี                 สตรี         
 สะคราญ    สายสมร      สายสวาท         สุดา              เสาวภาคย์    สุนทรี      อนงค์             อร             
 อ่อนไท      อ่อนไท้        อรนุช              อังคณา         อัมพา           อิตถี        อิสัตรี
  
           คำไทยที่หลายคำที่มีความหมายเหมือนกันหั่นสังเกตดีๆนะคะ  แล้วคุณจะได้ทราบคำศัพท์ในภาษาไทยอีกมากมายคะ

                   

ขมิ้นกับปูน..สำนวนไทยทีนิยมใช้



ขมิ้นกับปูน  สำนวนไทยที่นิยมใช้มีความหมายอย่างไร

          ขมิ้นกับปูน สำนวนนี้มีความหมายว่า ของสองสิ่งที่ไม่ถูกกัน เมื่อมาเจอกัน ก็จะออกฤทธิ์ออกเดชใส่กัน

สำนนวนนี้มีที่มาอย่างไร

          
          ปูนในที่นี้หมายถึง ปูนขาว ทำจากการนำแร่แคลเซียมมาเผา เมื่อสุกได้ที่นำไปบดจะได้ปูนขาว เช่นเปลือกหอย ในทางอุตสหกรรมจะใช้ หินปูน        ขมิ้น คือ พืชสมุนไพร เป็นไม้ล้มลุก มีรากเป็นเหง้า คล้ายขิง แต่เนื้อมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม   
        ขมิ้นกับปูน ในสำนวน นี้มาจากขั้นตอนขบวนการผลิต ปูนแดง(ที่ใช้กินกับหมาก พลู ที่เห็นคนสูงอายุ กินแล้วฟันดำ) ขมิ้นที่ผสมเข้าไปในปูนขาว จะทำให้เกิดเป็นปูนแดง        ฉะนั้น ขมิ้นกับปูน ที่ใช้กันในความหมายของ ของสองสิ่งที่เข้ากันไม่ได้ นั้นจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากพวกมันเข้ากันได้ดี แต่ เมื่อนำมาผสมกัน มันจะออกฤทธิ์หักล้างกัน โดยขมิ้นจะออกฤทธิ์ลดความเป็นด่างของปูนขาวลง เพื่อให้ไม่ให้กัดปากคอ ของคนกินหมาก                

ขมิ้นกับปูนจริงๆๆ