วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ประมวลคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น


คำที่มาจากภาษาอื่น

         ในภาษาไทยมีการขอยืมคำจากภาษาอื่นๆ มากมาย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสัมนสกฤต ภาษาเขมร เป็นต้น
คำที่มาจากภาษาอื่นเหล่านี้ จะมีหลักในการสังเกตแตกต่างกัน ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าคำเหล่านี้มาจากภาษาใด

๑. คำที่มาจากภาษาบาลี
ตัวอย่างคำ พุทธ ปัญญา มัจฉา บุปผา อัคคี จุฬา หทัย ทุกข์ บาป ราโชวาท มุทิตา ดาบส ชาตะ คฤหัสถ์
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๒.  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ตัวอย่างคำ เกษตร สตรี กรีฑา ครุฑ ปรัชญา ธรรม ภรรยา ราตรี ฤดี ฤทัย ราเชนทร์ กัลบก ไพศาล บาป
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๓.  มาจากภาษาเขมร
ตัวอย่างคำ   ฉกาจ เข็ญ จำเนียร กังวล เพ็ญ เสด็จ เจริญ ขจร ทูล
ข้อสังเกต       สะกดด้วย จ ญ ร ล
ตัวอย่างคำ   ขลัง โขน ฉลอง เสวย เขนย เฉลย
ข้อสังเกต       มักใช้คำควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำ
ตัวอย่างคำ   กำจร ตำรวจ กำเนิด ดำริ บังคม จำเริญ ชำนรร
ข้อสังเกต       คำ ๒ พยางค์ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ บัง

๔.  มาจากภาษาชวา
ตัวอย่างคำ กริช (มีดปลายแหลมมี ๒ คน), กิดาหยัน (มหาดเล็ก), บุหงา (ดอกไม้), ปั้นเหน่ง (เข็มขัด), มะงุมมะงาหรา (เที่ยวป่า)
ข้อสังเกต มักจะเป็นคำที่มีเสียงจัตวา

๕. คำที่มาจากภาษาจีน
ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมาเเต่โบราณกาล ในสมัยสุโขทัยได้มีการทำสัญญาทางไมตรีกันระหว่างไทยกับจีน ภาษาไทย และภาษาจีนจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด ทั้งสองภาษามีเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เหมือนเสียงดนตรี จึงได้ชื่อว่าเป็นภาษาดนตรี

คำที่มาจากภาษาจีน มีลักษณะ ดังนี้
      -  มักเป็นคำพยางค์เดียว
      -  มีรูปวรรณยุกต์เเละเสียงวรรณยุกต์ เพื่อให้เกิดความหมาย

ตัวอย่าง คำที่มาจากภาษาจีน
คำนาม
      ก๊ก (หมู่เหล่า)      ก๋ง (ปู่)       ขิม (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง)       เซียน (ผู้วิเศษ)
      ตังเก (เรือ)       โสหุ้ย (ค่าใช้จ่าย)       ซ้อ (สะใภ้)       อั้งโล่ (เตา)       ฮ่องเต้ (กษัตริย์)
คำกริยา
      เก๊ก (วางท่า)      เขียม (ประหยัด)      เจ๊า (เลิกกันไป)      แฉ (เปิดเผยให้รู้)      ทู่ซี้ (ทนทำต่อไป)    
      เซ็งลี้ (ขายต่อ)      แฉ (เปิดเผยให้รู้)      เซ๊ง (ขาย)      ตื้อ (พยายาม)      ตุน (เก็บไว้)      ตุ๋น (ทำอาหารให้เปื่อย)

ตัวอย่าง ประโยคที่ใช้คำที่มาจากภาษาจีน
      กง ชอบฟังหลานตี ขิม เวลานั่งดื่มน้ำ เก๊กฮวย
      เธอเป็นคน เขียม จึงไม่ชอบจัดงานเลี้ยงที่ต้องจ่ายค่า โสหุ้ย มาก
      ทินกรถูกเพื่อน ตื้อ ให้ไปเที่ยวทะเลด้วยกัน
      คนที่ เก๊ก มาก ๆ มักจะไม่มีเพื่อน
     อาเเป๊ะ เซ้ง ตึก ๓ ชั้น แถวรัชดา เดือนที่เเล้ว
     เราต้องเตรียม ตุน เสบียงไว้เผื่อหิวเวลาเดินาทง
     เเม่ทำ ก๋วยเตี๋ยว หมู ตุ๋น รสเด็ด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น